Thursday 19 November 2009

7 เทคนิคทำให้ชีวิตผ่อนคลาย

ใน โลกปัจจุบันนี้ หลายๆคนคงต้องเผชิญกับความเครียดและแรงกดดันต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การหาหนทางที่จะผ่อนคลายตัวเอง จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน้ต่อร่างกายและจิตใจของเราเป็นอย่างมาก บางคนอาจเข้าสปา ไปนวดหน้านวดตัว บางคนไปเที่ยว ซึ่งต่างก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไป แต่ความลับของการผ่อนคลายที่แท้จริงก็คือ การควบคุมภาวะจิตใจของเรานั้นเอง ถ้าคุณขาดการควบคุมจิตใจแล้ว การเข้าสปาที่ดีที่ การเที่ยวที่ที่สวยที่สุด ก็ไม่สามารถทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้เลย


เทคนิคการผ่อนคลายตนเอง
1. ปัจจุบัน คือสิ่งที่สำคัญที่สุด - บ่อยแค่ไหนที่คุณมักจะพบว่าคุณเป็นกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น คนส่วนมากมักจะมีความวิตกกังวลในเรื่องของอนาคต แต่ในความเป็นจริงแล้วการวิตกกังวลไป ก็ไม่ได้ช่วยอะไรได้เลย ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มักจะอยู่ในโลกแห่งอดีตหรืออนาคต คุณก็จะไม่สามารถผ่อนคลายได้เลย ฉะนั้นถ้าคุณต้องการผ่อนคลายอย่างแท้จริงคุณจะต้องมีสติอยู่กับปัจจุบัน เราเท่าทันตนเองอยู่เสมอ


2. สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ - ที่ที่คุณอยู่ หรือสภาพแวดล้อมที่คุณต้องเจอก็ส่งผลต่อจิตใจของคุณเช่นเดียวกัน หลายๆคนอาจไม่ได้ตระหนักถึงปัจจัยนี้ แต่ถ้าสังเกตให้ดี การอยู่มรบางที่ มันก็ยากที่จะรู้สึกผ่อนคลายได้ คราวนี้ เริ่มมองไปที่รอบตัวคุณ ถ้าคุณเห็นสิ่งที่คอยเตือนใจให้คุณทำโน่นทำนี้ คุณคงต้องลงมือทำอะไสักอย่างกับห้องของคุณแล้ว เจ้าพวกของที่คอยกวน ใจคุณเป็นเหมือนภาระ หนักของจิตใจคุณ จัดการจัดห้องให้เป็นระเบียบและเก็บมันไปให้พ้นหูพ้นตา หาของประดับห้องให้มีความรื่นรมณ์มากขึ้น คุณอาจยอมเสียเงินซื้อเครื่องฟอกอากาศสักเครื่อง หรือเทียนหอมมาจุด ก็ช่วยให้คุณผ่อนคลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมยังเป็นการเพิ่มประสิทธืภาพในการทำงานของคุณอีกด้วย


3. การทำสมาธิ - ระหว่างที่เรามีสมาธิ จิตของเราจะอยู่ในความเงียบ สงบ และรู้สึกผ่อนคลายอย่างแท้จริง การทำสมาธิสอนให้เรารู้จักจัดระเบียบของความคิดที่ยุ่งเหยิงของเรา ขณะที่มีสมาธิ จิตของเราจะหยุดนิ่ง ซึ่งนำมาซึ่งความสงบและความเบิกบาน การทำสมาธิจึงเป็นการผ่อนคลายที่ดีที่สุด คุณลองหาเวลาวันละ 10 - 15 นาทีเพื่อทำสมาธิ แล้วคุณจะรู้ว่าโลกแห่งความสงบและผ่อนคลายที่แท้จริงเป็นอย่างไร


4. ช้าๆได้พร้าเล่มงาม - การ ผ่อนคลายไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องปล่อยกายปล่อบใจอยู่ในสปา หรือบนชายหาดตลอดทั้งวัน เราจะต้องเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายท่านกลางกิจกรรมปกติของเรา การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำอย่างเป็นระบบ ทำงานเป็นขั้นเป็นตอน จะช่วยให้คุณทำงานสบายขึ้น และได้ผลงานที่มากขึ้น ในขณะที่คุญทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน ความสบสนวุ่นวายก็จะเกิดขึ้น แล้วคุณก็จะไม่รู้สึกถึงการผ่อนคลายได้เลย เริ่มทำงานที่สำคัญมากที่สุดและเร่งที่สุดก่อน และวค่อยๆทำงานที่สำคัญลอองลงมา ค่อยๆทำอย่างรอบคอบ อย่ากดดันตัวเองให้ต้องทำงานให้มากที่สุด การทำวิธีนี้จะช่วยให้คุณทำงานถูกต้องมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความสบายใจมีมากขึ้น นี่แหละคือรางวัลที่ยิ่งใหญ่สำหรับคุณ


5. อย่าขึ้นผูกติดกับความคิดเห็นของคนอื่น - บ่อย แค่ไหนที่คุณยึดติดกับความคิดของคนอื่น ตอนที่เรากังวลว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร จะพูดอน่างไร นั้นก็คือเราได้สร้างภารทางใจให้กับตัวเอง เพราะลึกๆแล้ว เราพยายามต้องสนองความต้องการของคนอื่นอยู่ เราก็จะกดดันตัวเองและก็จะไม่มีทางที่จะผ่อนคลายเลย คุณรู้ไหมว่า คนอื่นก็มักจะคอยจับผิดเรา เราจะไม่มีทางดีพอสำหรับคนอื่นได้ ดังนั้น จงอย่าผูกติดตัวเองกับคำวิภากษ์วิจารณ์ของคนอื่นไม่ว่าจะเป็นในทางบวกหรือลบ ไม่ ได้หมายความว่าเราจะไม่สนใจความคิด เห็นของคนอื่น แต่หมายความว่า เราอย่าาทำให้ตัวเราต้องรู้สึกสนวุ่นวายใจเพียงเพราะความเห็นของคนอื่น เรารับฟังและนำมาคิดด้วยสติอย่างมีเหตุมีผล มันอาจจะทำยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะรู้ว่าคุณยึดติดกับความคิดผู้อื่นน้อยลงเรื่อยๆ


6. ให้เวลากับตัวเอง - แบ่ง เวลางานและเวลาส่วนตัวออกจากกันอย่างชัดเจน มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คุณจะว่างตลอด 24 ชั่วดมงเพื่อใครสักคน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า หัวหน้า หรือแม้กระทั่งเพื่อน จงรับโทรศัพท์หรือตอบ email ลูกค้า หรือหัวหน้าในเวลทำงานเท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งกวนใจ และบั่นทอนพลังกายและใจของคุณ


7. การเปลี่ยนแปลงก็ดีไม่แพ้การพักผ่อน - ชีวิต เราคงไม่ดีแน่ถ้าเหมืนละครที่เล่นซ่ำไปซ่ำมา ถ้าคุณพบว่าคุณติดอยู่ในบ่วงของการทำสิ่งที่จำเจทุกวัน ถึงเวลาที่คุณต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างแล้สหล่ะ เช่น ถ้าคุณดูโทรทัศน์หรือท่องอินเตอร์เน็ตหลังอาหารเย็นทุกวัน วันนี้คุณลองเปลี่ยนมาเดินเล่นรอบหมู่บ้านดูบ้าง การได้ทำสิ่งอะไรใหม่ๆ พบเห็นสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายได้อย่างไม่รู้ตัว การผ่อนคลายง่ายเหมือนแค่การหายใจ เมื่อ ใดที่คุณรู้สึกเครียดหรือกดดัน คุณลองกำหนดลมหายใจเข้า-ออก หายใจอย่างนุ่มนวลและเป็นธรรมชาติ แค่นี้คุณก็จะรู้สึกถึงความผ่อนคลายได้ไม่ยาก


ขอบคุณข้อมูล : hbwellness

อัจฉริยภาพเด็กพัฒนาได้ด้วยธรรมะ

เพื่ออีคิวเด็กและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

คงไม่ผิดนัก หากจะบอกว่าการมาถึงของความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Quotient) ซึ่งเป็นเทรนด์การเลี้ยงดูเด็กที่ได้รับการเผยแพร่มาจากสื่อต่างประเทศ (ก่อนจะตามมาด้วยMQ, RQ, AQ และ อีกมากมายหลายประการนั้น)เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นให้คุณพ่อ คุณแม่ยุคใหม่หันมาสนใจค้นคว้าหาวิธีพัฒนาศักยภาพลูกในด้านต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่มมากขึ้น แทนการสนใจพัฒนาแต่ด้านวิชาการเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต

อย่างไรก็ดี ยังมีสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน นั่นก็คือ หลักธรรมะตามแนวทางของพุทธศาสนา อันได้แก่ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 และอริยสัจ 4 ซึ่งหลายคนอาจหลงลืมไป และไม่ได้นำมาใช้กับครอบครัวให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ในจุดนี้ ทำให้ ศาสตราจารย์(เกียรติคุณ) พญ.ชนิกา ตู้จินดา กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูก ได้หยิบยกถึงการนำหลักธรรมะมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว และพัฒนาอัจฉริยภาพทางอารมณ์ให้แก่ลูกในงานเปิดตำนาน"คู่มือเลี้ยงลูก"ฉบับ ครบรอบ 25 ปี ของสำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า "การเลี้ยงลูกโดยใช้หลักธรรมะ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับลูกในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะถ้าเราแสดงให้เห็นตั้งแต่เด็ก เด็กก็จะได้เรียนรู้วิธีการเหล่านั้น นำไปสู่การมีความสุขในชีวิต และเป็นพัฒนาอีคิวของเด็กได้เป็นอย่างดี"

ทั้งนี้หลักธรรมะง่ายๆ ที่คุณหมอชนิการะบุว่า สามารถนำมาปรับใช้ในครอบครัวประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 และอริยสัจ 4 นั่นเอง

พรหมวิหาร 4 ธรรมะเพื่อความสุขสงบในชีวิต
เมื่อเอ่ยถึง "พรหมวิหาร 4" อันประกอบด้วยหลักใหญ่ 4 ประการได้แก่ "เมตตา" คือ ความ ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข "กรุณา" คือ การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ "มุทิตา" คือการยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี และ "อุเบกขา" คือการรู้จักวางเฉยนั้นโดยมากแล้ว เมตตาและกรุณา คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เข้าใจและพร้อมนำมาใช้อย่างเกิดผล อย่างไรก็ดี สำหรับมุทิตา และอุเบกขา นั้น คุณหมอชนิกาให้คำแนะนำว่า มีหลายครอบครัวยังใช้ได้อย่างไม่ถูกต้องนัก "มุทิตาคือการยินดีเมื่อผู้อื่นทำความดี ในชีวิตประจำวัน เราอาจเอ่ยปากชมคนอื่นได้มากมายแต่กับลูก เรากลับไม่ได้ชมเวลาเขาทำดีมากนักเพราะพ่อแม่อาจถูกสอนมาว่าชมลูกมากไม่ได้ เดี๋ยวลูกเหลิง แท้จริงแล้ว การชื่นชมก็เหมือนกับการให้กำลังใจ ให้ลูกได้รู้ว่า พ่อแม่ชื่นใจและภาคภูมิใจนะที่ลูกทำความดี"

" ส่วนอุเบกขา หรือการวางเฉยนั้น มีคนเข้าใจผิดกันเยอะ และทำให้นำไปใช้ผิดวิธี เช่น เห็นลูกทำผิด ก็วางเฉยไม่ตักเตือน ทำให้เด็กๆ เหล่านี้เมื่อเติบโตขึ้นมามีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบใช้คำหยาบคาย ไม่ระมัดระวังกิริยาเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ส่วนพ่อแม่ก็วางเฉย หัวเราะอย่างเดียว อันนี้ไม่ถูก"

" แท้จริงแล้ว อุเบกขาคือการให้ลูกทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งพ่อแม่สามารถฝึกลูกได้ตั้งแต่ยังเล็กตัวอย่างเช่น เมื่อลูกเริ่มหัดเดิน เขาก็ต้องมีล้มเป็นธรรมดา แต่เขาจะลุกได้ การที่พ่อแม่เข้าไปอุ้มหรือเข้าไปตีโต๊ะว่ามาเกะกะลูก ไม่ใช่สิ่งที่ถูก หรือลูกมีการบ้านมาจากโรงเรียน ลูกก็จะต้องทำด้วยตัวเอง พ่อแม่ไม่ต้องเข้าไปช่วยทำแทนเขา พอลูกทำได้ พ่อแม่ค่อยชื่นชม นั่นคือการนำอุเบกขามาใช้อย่างเหมาะสม"




อิทธิบาท 4 สอนให้ลูกมุ่งมั่นกับงานที่ทำ

อีกหนึ่งปัญหาปวดหัวที่คนเป็นพ่อแม่ยุคนี้ต้องรับมือก็คือ การที่ลูกเป็นเด็กจับจด ไม่มีความพยายาม ไม่อดทนต่ออุปสรรค ทำให้การทำงานไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวัง ซึ่งในทางพุทธศาสนาก็ยังมีหลักธรรมชื่อว่า "อิทธิบาท 4" ที่จะสามารถแก้ไขพฤติกรรมเจ้าปัญหาของลูกได้อยู่เช่นกัน

โดยอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย " ฉันทะ วิริยะจิตตะ วิมังสา" ฉันทะคือความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีตัวเองเป็น ส่วนวิริยะคือความพากเพียรพยายามมีจิตใจจดจ่อมุ่งมั่นทำให้เสร็จ จิตตะคือการมีจิตใจที่มุ่งมั่น ไม่ทอดทิ้งงาน และวิมังสาคือการหมั่นไตร่ตรองในสิ่งที่ทำลงไป และหมั่นพิจารณาในเรื่องดังกล่าวให้ลึกซึ้งยิ่ง ทำให้ดีขึ้นไปตลอดเวลา

"การฝึกอิทธิบาท 4 เรา สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ยกตัวอ ย่างเช่น การเล่นของเล่น เมื่อเด็กเล่นเสร็จ อาจทิ้งของเกลื่อนกลาดให้พ่อแม่เป็นคนเก็บอันนี้ไม่ถูก ควรจะถามลูก ว่าเราจะเก็บของเล่นอย่างไรดี ให้ลูกได้ใช้ความคิดพร้อมๆ กับได้เรียนรู้ว่ากิจกรรมนี้จะเสร็จสิ้นได้ก็ต่อเมื่อเก็บของเรียบร้อย"

นอกจากนั้นแล้ว การฝึกอิทธิบาท 4 ยังช่วยให้พ่อแม่ลูกได้ใกล้ชิดกัน เมื่อใกล้ชิดกัน พ่อแม่ก็จะสามารถสอนให้ลูกรู้จักกฎระเบียบภายในบ้านรู้จักทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน อีกทั้งคำพูดคำจา กิริยาท่าทางก็จะได้รับการกล่อมเกลาให้มีความประพฤติที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างปกติสุขด้วย

อริยสัจ 4 ธรรมะเยียวยาของเด็กทุกข์
ในสังคมปัจจุบันที่เด็กจะต้องเติบโตขึ้น พ่อแม่คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความผิดหวัง และความทุกข์มากมายรอเขาอยู่เบื้องหน้า แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ไม่มีธรรมะยึดเหนี่ยวจิตใจก็คือ เขาจะไม่เข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้นำมาซึ่งการอาละวาด ทำร้ายร่างกาย หรือหนักข้อขึ้นก็นำไปสู่การฆ่าตัวตาย เพิ่มปัญหาให้แก่สังคมอีกทอดหนึ่ง

อริยสัจ 4 ความจริง 4 ประการที่จะเข้ามาช่วยยกระดับจิตใจเด็ก ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ในหัวใจของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี ในจุดนี้ คุณหมอชนิกาแนะนำว่า ควรจะเริ่มจากการสอนเมื่อลูกรู้จัก "ความทุกข์" นั่นเอง

"อริยสัจ 4 คือการสอนให้ลูกได้รู้ว่าทุกข์คืออะไร และจะมีทางใดบ้างที่จะช่วยขจัดทุกข์ โดยพ่อแม่อาจสอนได้ง่าย ๆ ผ่านประสบการณ์จริงของลูกเช่น วันนี้ลูกไปโรงเรียนถูกคุณครูดุ หรือทะเลาะกับเพื่อนมา พ่อแม่อาจไต่ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ชวนลูกคุยให้เล่าถึงสิ่งที่ได้ประสบมา และช่วยกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา ก่อนจะนำมาอธิบายให้ลูกได้เข้าใจ ในกรณีนี้อาจยกตัวอย่างประสบการณ์ของพ่อแม่ในอดีต และให้ลูกร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยก็เป็นได้"

" ส่วนแนวทางในการแก้ไข พ่อแม่อาจเป็นผู้ชี้แนะ หรือถามคำถามให้ลูกได้คิดเองว่าควรจะทำอย่างไร เช่น อยากให้เพื่อนพูดจากับลูกดี ๆ ก็ต้องพูดดี ๆ กับเขาก่อน เป็นต้น"

สังคหวัตถุ 4 น้ำทิพย์ชโลมใจเด็ก
ธรรมะ ข้อสุดท้ายอันได้แก่ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วย ทาน (การเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆ ตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น) ปิยวาจา (การพูดด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน เว้นการเท็จ ส่อเสียดคำหยาบ เพ้อเจ้อ) อัตถจริยา (การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น) สมานัตตา (ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย) นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งหลักธรรมที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาแต่อดีต โดยเฉพาะการบริจาคทาน อย่างไรก็ดี คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคหวัตถุ 4 ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ได้เลือนหายไปเป็นอันมาก อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและการมาถึงของระบอบทุนนิยม แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากครอบครัวจะปลูกฝังสังคหวัตถุ4 ลงในจิตใจเด็กเพื่อเรียกสิ่งดี ๆ ให้กลับคืนมา

" เมื่อเอ่ยถึงทาน ทานก็คือการแบ่งปัน เราฝึกได้ตั้งแต่เล็ก ๆ เวลามีเพื่อนมา ก็แบ่งของเล่นเล่นด้วยกัน มีสัตว์เลี้ยงก็ให้อาหารสัตว์เลี้ยง พาลูกไปตักบาตร พาลูกไปคารวะผู้ใหญ่ แต่ก็ต้องสอนลูกว่าไม่ควรให้จนตัวเองลำบาก เช่น ได้เงินวันละ 10 บาท แต่ให้เพื่อนหมด ตัวเองอดอยาก นอกจากนั้นการสอนเรื่องทาน ยังช่วยให้พ่อแม่ฝึกเด็กเรื่องการบริหารเงินด้วย เช่น มีกระปุกออมสินให้ลูกนำเงินค่าขนมที่ได้มาเก็บออมไว้ส่วนหนึ่ง กินขนมเองส่วนหนึ่ง แบ่งให้ผู้อื่นบ้างในบางโอกาส"

" นอกจากนั้น แรงงานก็เป็นทานอย่างหนึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการให้ทานที่เป็นทรัพย์สิน เงินทอง เด็กที่มีจิตอาสา ช่วยงานคุณครู หรืองานโรงเรียน ก็เป็นทานอย่างหนึ่งเช่นกัน ส่วนปิยวาจาหรือก็คือการพูดโดยใช้ถ้อยคำไพเราะนุ่มนวล หากพ่อแม่ทำอย่างนี้ให้ลูกเห็นตั้งแต่เล็กๆ ลูกก็จะมีพฤติกรรมเหมือนพ่อแม่ไปด้วย"

" การสอนให้ลูกรู้จักสังคหวัตถุ 4 และทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยจิตใจ ทำด้วยความสม่ำเสมอเป็น สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนมาแล้วกว่า 2,500 ปีและเป็นสิ่งที่คนไทยควรเรียนให้ลึก เรียนให้รู้ เรียนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เพราะจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้นั่นเอง" คุณหมอชนิกากล่าวทิ้งท้าย


ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
สสส. และ วิชาการดอทคอม
ที่มา www.thaihealth.or.th