Thursday 27 August 2009

ระวังบุหรี่แปลงร่างเป็น ‘น้ำดื่มนิโคติน’

ปรุงรสดึงดูดใจ หวั่นยั่วยุให้เยาวชนอยากลอง

เตือน ภัยบุหรี่รูปแบบใหม่ แปลงร่างเป็นน้ำดื่มนิโคติน ปรุงรสชาติให้อร่อยน่าลิ้มลองโดยไม่ต้องสูดควัน หวั่นทะลักเข้าไทยในงานประชุมยาสูบโลก "เอ็กซ์โปบุหรี่" ที่กรุงเทพฯ เตรียมพร้อมเฝ้าระวังไม่ให้ละเมิดกฎหมายไทย

จาก กรณีอุตสาหกรรมยาสูบโลก เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงานแสดงนิทรรศการความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมการทำตลาดบุหรี่ ในชื่อ Tabinfo 2009 ณ กรุงเทพฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ส่งผลให้มีกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายวิชาชีพเพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้เคลื่อนไหวเผยแพร่ข้อมูลและเป้าหมายแอบแฝงในการจัดงานดังกล่าว

ทันตแพทย์หญิงวิกุล วิสาลเสสถ์ มูลนิธิสุขภาพไทย เปิดเผยว่า กลยุทธ์ทางการตลาดที่แยบยลของงานนิทรรศการยาสูบโลกครั้งนี้คือ การแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบในรูปแบบใหม่และโฆษณาว่าลดพิษภัย เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตก้นกรองที่ใช้แสงเลเซอร์เจาะรูพรุนเพื่อให้สาร พิษ ได้แก่ นิโคตินและทาร์ลดลง แต่ในความเป็นจริงบุหรี่ต้องคีบด้วยนิ้ว ทำให้คุณสมบัติดังกล่าวไม่เกิดประสิทธิภาพ การเติมกลิ่นผลไม้ ดอกไม้ หรือน้ำหอมชั้นสูงที่กระดาษมวนบุหรี่ เพื่อลดกลิ่นเหม็นจากควันเผาไหม้ยาสูบ รวมทั้งบุหรี่ชูรสและเติมกลิ่นหอมสำหรับกลุ่มผู้หญิงและวัยรุ่น บุหรี่เติมกาแฟและสารชูกำลัง สำหรับผู้ชื่นชอบกีฬาและกิจกรรมท้าทาย ซึ่งล้วนเป็นการโฆษณาชวนเชื่อทั้งสิ้น

"ล่า สุด มีบุหรี่แปลงร่างในรูปแบบใหม่ทดแทนบุหรี่ที่ไม่ต้องจุดใบยาสูบ แต่นำพาสารเสพติดสำคัญจากบุหรี่คือนิโคตินสู่ร่างกายในรูปต่างๆ เช่น น้ำดื่มนิโคติน ซึ่งเป็นสารนิโคตินละลายน้ำปรุงรสให้มีรสชาติน่าดื่ม สำหรับดื่มให้ฤทธิ์ทดแทนการสูบบุหรี่ รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้าที่อยู่ในรูปแบบมวนบุหรี่ แต่ใช้แบตเตอรี่จุดให้ความร้อนในการแปรสภาพแท่งนิโคตินสู่ร่างกาย" ทพญ.วิกุลกล่าว

ทั้ง นี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าระบุว่า มีผู้บริโภครายงานว่าเกิดปัญหาการระคายเคืองในช่องปากจากสารเคมี และล่าสุด องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (เอฟดีเอ) ประกาศว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยพบสารที่ก่ออันตรายต่อชีวิต และได้มีการอายัดบุหรี่ไฟฟ้าที่นำเข้ามาทางเรือแล้วในหลายประเทศ

ดร.กิตติ กันภัย อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า สิ่งที่ต้องจับตามองกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ในประเทศไทย คือ การทำโฆษณา ณ จุดขาย ซึ่งในขณะนี้มีร้านที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ถึง 467,660 ร้าน ทำให้ยากต่อการสอดส่องดูแลได้ทั่วถึง อีกทั้งยังพบว่าได้มีการทำตลาดบุหรี่กับเยาวชน ด้วยการออกแบบซองให้ดึงดูดใจและยั่วยุให้เยาวชนอยากสูบบุหรี่ ผ่านการเผยแพร่ข้อความทำนองว่า การสูบบุหรี่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ เด็กไม่ควรสูบ การส่งต่อเรื่องเกี่ยวกับบุหรี่ผ่านอีเมล์ โพสต์ในบล็อก และสอดแทรกในการ์ตูน เป็นต้น

ด้าน พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์เพื่อการควบคุมยาสูบ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐปฏิเสธการเข้าไปมีส่วนร่วมกับงาน ดังกล่าว เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 5.3 ของอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการปกป้องธุรกิจยาสูบแทรกแซงนโยบายสาธารณะ และขอเรียกร้องให้เครือข่ายฯ ร่วมกันเปิดโปงกลยุทธ์ทางการค้าของบริษัทบุหรี่ให้ประชาชนได้รับทราบ และรวมพลังในการเฝ้าระวังการประชุม Tabinfo 2009 ไม่ให้มีการละเมิดกฎหมายไทย

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Wednesday 26 August 2009

อย.สั่งแบน 8ผลิตภัณฑ์ ทำหน้าพัง

ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ว่า อย.ได้ ออกเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจาก 2 แหล่งจำหน่าย เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค พบสารปรอท และกรดเรทิโนอิก ซึ่งเป็นสารอันตรายห้ามใช้ ประกอบด้วย

1.WEIJIAO Fade-Out Day Cream (15 g)
2.Yanko Day Cream Fade-Out Cream
3.Yanko Night Cream
4.FAYLASIS WHITENING CREAM (NIGHTCREAM)
5.Gold Nary Whitening Cream Night Cream
6.Gold Nary Face out Cream Day Cream
7.Yonae Whitening Essence & Double Efficacy (ฝาสีเงิน)
8.YONAE Whitening Essence&Double Efficacy (ฝาสีทอง)

โดยผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ภญ.วีรวรรณกล่าวถึงอันตรายจากสารทั้ง 2 ชนิดว่า สารปรอทเมื่อเริ่ม ใช้จะทำให้แลดูดีขึ้นขาวขึ้น แต่เมื่อใช้ไปในระยะหนึ่งจะทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะและไตอักเสบ ส่วนกรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ) เมื่อเริ่มใช้จะทำให้ดูผ่องใสขึ้น แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรงเกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

ไคโรแพรคติก อีกทางเลือกไม่ง้อยา!

เมื่อรู้ว่าภาวะ ออฟฟิศซินโดรม เกิดขึ้นได้ง่ายๆ กับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ภาษาหมอสัปดาห์นี้ขอเสนอ ไคโรแพรคติค หนึ่งทางเลือกรักษาออฟฟิศซินโดรม

ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ.1895 ที่เมืองแดฟเวิร์นพอร์ท มลรัฐโลวา สหรัฐฯ คุณหมอปาล์มเมอร์ พัฒนาศิลปะปรัชญาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไคโรแพรคติก ขึ้นมา

ชื่อ ไคโรแพรคติก (Chiropractic) เป็นภาษากรีก เกิดจากการผสมกันระหว่างคำว่า Cheir และ Praktikas ได้ ความหมายว่า การรักษาด้วยมือ แพทย์ผู้รักษาจะใช้มือจัดข้อกระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานที่เคลื่อนผิดตำแหน่งให้กลับเข้าที่ โดยเน้นความสมดุลของระบบโครงสร้าง สภาวะจิต และสารเคมีต่างๆ ในร่างกาย โดยไม่ใช้ยา เข็ม หรือการผ่าตัดรักษา

สำหรับผู้ที่เข้าข่ายเป็นออฟฟิศซินโดรม มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ เช่น หลัง คอ ไหล่ ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ มักมีอาการชาตามแขนและขา ซึ่งอาจเป็นเพราะการเคลื่อนไหวผิดจังหวะ หรือนั่งทำงานนานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ หมอนรองกระดูกเคลื่อน สร้างความเจ็บปวดทรมานสะสมจนเป็นอุปสรรคในการทำงานและการใช้ชีวิต สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอตรวจรักษาด้วยการแพทย์แบบไคโรแพรคติกได้

takecareDD@gmail.com

แง่คิด จากข่าวไมเคิล...ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวด, ไมเคิล แจ๊คสัน, ติดยา

ใช้ไม่ถูกวิธีจะ 'มีภัย !' การเสียชีวิตของศิลปินนักร้องชื่อก้องโลกสัญชาติสหรัฐอเมริกา

“ไมเคิล แจ๊คสัน” นั้น สำหรับในประเทศไทยเราสื่อทุกแขนงต่างก็นำเสนอเป็นข่าวใหญ่อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกรณีสัตว์น่ารักประจำถิ่นของจีนอย่าง แพนด้า มาลืมตาดูโลกในประเทศไทย ซึ่ง 2 ข่าวนี้ต่างก็ให้ “แง่คิด” ที่เกี่ยวกับคนไทยโดยตรงได้ อย่างเช่น...เห่อแพนด้าก็อย่าลืมสนใจ “ช้างไทย” ติดตามข่าวไมเคิลตาย...น่าจะคิดถึงภัย “ยาแก้ปวด” กับกรณี ไมเคิล แจ๊คสัน นั้น ไม่ว่าที่สุดแล้วผลชันสูตรจะบ่งชี้ว่าเขาต้องจากโลกนี้ไปด้วยสาเหตุอะไรแน่ แต่จากรายงานข่าว...ช่วงชีวิตบั้นปลาย ของเขาดูจะเกี่ยวข้องกับ “ยา” จำนวนมาก ซึ่งก็มี “ยาแก้ปวด” รวม อยู่ด้วย ที่สำคัญ...มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลจากยาแก้ปวดด้วย แม้ว่าจริง ๆ แล้วอาจจะไม่เกี่ยว ?!? ทั้งนี้ แม้คนไทยทั่วไปจะคุ้นเคยกับยาแก้ปวดดี แต่กระนั้น ยาก็คือยา...ไม่ใช่อะไรที่ใช้-ที่กินยังไงก็ได้ !!

ซึ่งจากข้อมูลเกี่ยวกับยาแก้ปวด จากบทความของ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย เภสัชกรสุรชัย อัญเชิญ ในเว็บไซต์ www.pharm.chula.ac.th ก็ มีแง่มุมที่คนไทยควรจะได้ตระหนัก เภสัชกรสุรชัยระบุไว้ว่า... ยาแก้ปวดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ... “ยาแก้ปวดชนิดเสพติด” และ “ยาแก้ปวด ชนิดไม่เสพติด” ซึ่งแต่ละชนิดก็มีผลดี-ผลเสียที่แตกต่างกัน สำหรับยาแก้ปวดชนิดเสพติด เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดสูง แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ยาประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อ จึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่ โดยตัวยาเป็นสารจาก ฝิ่น และสารที่มี ฤทธิ์คล้ายฝิ่น ได้แก่ มอร์ฟีน เมเปอริดีน เมธาโดน โคเดอีน เลโวโปรพรอก ไซฟีน เพนตาโซซีน ยากลุ่มนี้ใช้เป็นยาเดี่ยวเพื่อระงับปวดที่รุนแรงปานกลางจน ถึงรุนแรงมาก ที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อเรียบ อวัยวะภายใน และกระดูก หรือใช้เป็นยาเสริมกับยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติดเพื่อระงับอาการปวดที่รุนแรง ปานกลาง ยาประเภทนี้ทำให้ผู้ใช้เกิดการ “ชินยา-ติดยา” ได้ ส่วนยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด เป็นยาที่มีฤทธิ์ระงับปวดต่ำ แต่มีฤทธิ์ลดไข้ด้วย ได้แก่... ยาแก้ปวด-ลดไข้ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (NSAID) ด้วย เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ไดฟลูนิซาล เมเฟนามิคเอซิด นาพรอกเซน ซูลินแดค พิรอกซิแคม เป็นต้น, ยาแก้ปวด-ลดไข้ที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ พาราเซตามอล ยาประเภทนี้ใช้ระงับอาการปวดที่รุนแรงน้อยจนถึง ปานกลางของกล้ามเนื้อลาย เอ็น ข้อต่อ ปวดศีรษะ ปวดฟัน

ยาประเภทนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยา แต่ “ก็ต้องระวัง” ย้อนกลับไปที่ยาแก้ปวดชนิดเสพติด ซึ่งใช้บรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน และปวดรุนแรง เช่น ปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบ ปวดกระดูก ยาประเภทนี้มีทั้งชนิดยากินเมื่อต้องใช้ต่อเนื่อง และ “ยาฉีด” อย่าง ที่เราได้ทราบจากข่าวของ ไมเคิล แจ๊คสัน โดยยาแก้ปวดแบบฉีดนี้จะใช้เมื่อต้องการเห็นผลรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ยาแก้ปวดชนิดเสพติดโดยทั่วไปจะมี “ผลเสีย”อาทิ... กดการหายใจ มีผลทำให้ผู้ป่วยหายใจอ่อน ช้า และมีผลเสียอย่างมากกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น หอบหืด, กดระบบภูมิคุ้มกัน (ผู้เสพติดฝิ่นจึงมีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ โรคเอดส์), ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะในระยะแรกของการใช้ยา แต่ต่อไปอาจชินยา ทั้งนี้ โดยทั่วไปจะไม่ใช้ยาแก้ปวดชนิดนี้กับอาการปวดเรื้อรังซึ่งต้องใช้ยาต่อ เนื่องระยะยาว เนื่องจากปัญหาติดยา เว้นแต่กรณีจำเป็นต้องใช้ เช่น อาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ไม่นาน การติดยาจึงเป็นประเด็นปลีกย่อย กับยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด ที่ใช้กับอาการปวดที่มีไข้ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะจากไข้หวัดหรือติดเชื้อ ปวดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ แก้ปวด-ลดไข้ กับ แก้ปวด-ลดไข้-ต้านการอักเสบ ถ้าเป็นแบบต้านอักเสบด้วย ซึ่งยาที่เป็นแม่แบบคือ แอสไพริน ผลเสียก็มีอาทิ... ระคายเคืองทางเดินอาหารและลดความต้านทานของผนังกระเพาะและลำไส้ ทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออก และเป็นแผลในทางเดินอาหาร หากมีการใช้ขนาดสูงเป็นเวลานาน จึงห้ามใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในทางเดิน อาหารอยู่แล้ว, ผลพิษของแอสไพริน ทำให้เกิดอาการหูมีเสียงกริ่ง ไม่ได้ยินเสียง วิงเวียน, การใช้ยาเกินขนาด ทำให้อาเจียนอย่างหนัก หายใจถี่แรง ต้อง แก้ไขโดยการล้างท้อง, อาจมีผลพิษต่อไตและตับ ในระยะยาว

และกับยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด แบบแก้ปวด-ลดไข้ ซึ่ง พาราเซตามอล คือยาในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดี คือยาที่คนไทยใช้กันทั่วไป ก็มี “ผลเสีย” ได้ กล่าวคือ... การใช้ยาขนาดสูง หรือติดต่อกันระยะยาว อาจทำให้เกิดผลพิษต่อตับอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยทำให้เซลล์ตับตาย ตับเสื่อมสภาพ ทั้งนี้ โดยปกติยาส่วนหนึ่งจะถูกตับเปลี่ยนเป็นสารพิษ ซึ่งตับเองจะใช้สารป้องกันตัวเองที่มีอยู่กำจัดสารพิษดังกล่าวได้ แต่หากใช้ยาอย่างต่อเนื่องไป นาน ๆ สารป้องกันนั้นจะถูกใช้จนหมด จึงไม่สามารถกำจัดสารพิษได้ จนมี ผลเสียต่อตับ ดังนั้น เภสัชกรสุรชัย จึงเตือนไว้ว่า... การใช้ยาแก้ปวดกลุ่มนี้ต้องระวังเรื่องผลพิษที่รุนแรงต่อตับจากการใช้ต่อ เนื่อง ไม่ควรกินยานี้ในขนาดสูง กว่าครั้งละ 1,000 มก. (2 เม็ด) หรือเกินวันละ 6,000 มก. (12 เม็ด), ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานกว่า 7 วัน, ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคต่าง ๆ เกี่ยว กับตับ ก็เป็น “แง่คิด” ได้อีกเรื่องหนึ่ง...จากข่าว “ไมเคิล แจ๊คสัน” “ยาแก้ปวด” ที่ช่วยให้หายปวด “ใช้ไม่ถูกวิธีจะมีภัย !!”.

สำรวจ ยา ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง

ก่อนที่เวลาจะเดินหน้าไปถึง จุดหมายปลายทางของการคลอด เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย ย่อมต้องผ่านการคิดแล้วคิดอีกของคุณแม่ โดยเฉพาะเรื่องยา ปกติคุณหมอไม่แนะนำให้กินยาโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นระยะที่มีการสร้าง และพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยาบางชนิดอาจไปขัดขวางจนส่งผลร้ายต่อลูกอย่างคาดไม่ถึง อยากรู้ใช่ไหมว่ายาใดบ้างที่ต้องระวังให้ดี เรามีบัญชียาสารพันชนิดที่ส่งผลกับชีวิตลูกมาฝากค่ะ

ตั้งครรภ์, ท้อง, ช่วงท้อง, ยา, ยา ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง

สำรวจชนิดยา ค้นหาความเสี่ยงภัย ยารักษาความดันโลหิต Nifedipine : ใช้กรณีที่อาการรุนแรงแล้วใช้ยาอื่นไม่ได้ผล ยาอาจยับยั้งการคลอดได้ ควรหลีกเลี่ยงระยะใกล้คลอด Enalapril : ไตรมาส 2 – 3 ยาอาจทำให้ทารกผิดปกติ มีความดันโลหิตต่ำ รุนแรง ไตทำงานบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยง Atenolol : ถ้าใช้ในไตรมาสแรกทารกอาจมีภาวะรูท่อปัสสาวะเปิดใต้องคชาติ ถ้าใช้ในไตรมาส 2-3 อาจทำให้น้ำหนักตัวทารกน้อย Amlodipine : ยังไม่มีข้อสรุปควมปลอดภัย แต่ก็ไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์ Propranolol : การใช้ในไตรมาสที่ 2-3 ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ควรหลีกเลี่ยง Verapamil : หากจำเป็นให้ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ในระยะใกล้คลอด เพราะยาอาจมีผลคลายกล้ามเนื้อมดลูกได้ ยาขับปัสสาวะและลดความดัน Acetazolamide ยาโรคหัวใจในกลุ่มขับปัสสาวะ : ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในไตรมาสแรก Furosemide : อาจทำให้รูท่อปัสสาวะทารกเปิดใต้องคชาติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก Spironolactone : ควรหลีกเลี่ยง ยกเว้นผู้ที่มีโรคหัวใจร่วมด้วย Hydrohlorothiazide (HCTZ) : แม่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความดันโลหิตต่ำ ทำให้ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดช้า ควรหลีกเลี่ยง Amiloride +HCTZ (Moduretic) : ถ้าใช้ในไตรมาสแรกจะเสี่ยง ทารกอาจเสียชีวิตจากการที่แม่มีความดันโลหิตต่ำ ถ้าใช้ระยะใกล้คลอด อาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ทำให้คลอดช้า ไม่ควรใช้ ยาฆ่าเชื้อ Chloramphenicol : แม่ที่ได้รับในระยะท้ายอาจทำให้ลูกเกิดภาวะขาดออกซิเจน ควรระวังการใช้ในขนาดสูง Clarithromycin : งดใช้ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ยาอื่นรักษาเชื้อแบคทีเรียแทน ควรหลีกเลี่ยงในระยะตั้งครรภ์ครึ่งแรก Ciprofloxacin : อาจทำให้ข้อต่อกระดูกทารกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก ใช้ยาอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน Erythromycin : ฮอร์โมนในปัสสาวะแม่อาจลดลง ลูกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อาจแท้ง ระวังการใช้ไตรมาสแรก Fluconazole : ไม่ใช้ต่อเนื่องในไรมาสแรก อาจทำให้ทารกผิดปกติ แม้ใช้น้อยแล้วเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ควรระวัง Norfloxacin และ Ofloxacin : งดใช้ในไตรมาสแรก หรือใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มอื่นที่ปลอดภัยกว่า Tetracycline : งดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะกระดูกและฟันที่กำลังสร้างตัวจะผิดปกติ ฟันเปลี่ยนสี ทารกพิการแต่กำเนิด และเป็นพิษต่อตับแม่ Metronidazole : งดใช้ยารักษาโรคติดเชื้อของแม่เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด อาจทำให้แท้งในไตรมาสแรก Indomethacin : งดใช้ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ คลอดช้า ยา, ยา ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง ยาลดไข้ Aspirin : ไม่ควรใช้ขนาดสูงต่อกันนาน เพราะระบบเลือดแม่ลูกอาจผิดปกติได้ งดใช้ไตรมาส 3 เมื่อใกล้คลอด เพราะจะยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของลูกในครรภ์ แม่ลูกเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เลือดไหลไม่หยุดและคลอดช้า Oseltamivir (Tamiflu) : ให้ใช้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ชนิด A นี้ได้ ถ้าพิจารณาแล้วไม่ทำให้แม่และลูกเกิดความเสี่ยง รู้ทันยา : ยาแก้ไข้หวัดมักประกอบด้วยยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยทั่วไปไม่มีอันตราย ถ้าใช้นานควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยาชุดตามร้านขายยา เพราะอาจมียาแก้แพ้อักเสบบางอย่าง และสเตียรอยด์ปนมาด้วย ยาแก้ปวด ลดอักเสบ Diclofenac : ไม่ควรใช้ไตรมาสสุดท้าย ระยะใกล้คลอด เพราะจะทำให้คลอดช้า ไตทารกทำงานบกพร่อง Tramadol : แม้ตัวยาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ก็ไม่ควรใช้ในช่วงตั้งครรภ์ต้นๆ Morphine sulfate : ใช้ในไตรมาส 1 และ 2 ได้บ้างแต่ห้ามใช้ติดต่อกันนาน หรือใช้ในไตรมาสสุดท้าย ถ้าใช้ต่อเนื่องกันนาน ใช้ขนาดสูงใกล้คลอด จะทำให้กดการหายใจของทารกได้ Hyoscine-N-butylbromide : ใช้ลดการปวดเกร็งท้องให้แม่ได้ แต่งดเมื่อใกล้คลอด เพราะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ Mefenamic acid : ห้ามใช้ในไตรมาส 3 โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด Iduprofen : ใช้ในไตรมาส 1-2 ได้ แต่ห้ามใช้ในไตรมาส 3 ระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้คลอดช้า Colchicine : งดใช้ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ส่วนผู้ชายอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลง บางรายงานชี้ว่ายาอาจมีผลให้อสุจิกลายพันธุ์ ทำให้เกิดความผิดปกติในทารก เช่น เกิด Down’s syndrome ได้ Methotrexate : งดใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบหรือสะเก็ดเงิน เพราะจะกดการทำงานของไขกระดูกทารก เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ถ้ายาตกค้างอยู่ในร่างกายนาน ทำให้ทารกผิดปกติได้ แม้จะหยุดใช้หลายปีก็ตาม รู้ทันยา : ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่ใช้กันบ่อย แม้เจ็บคอเพียงเล็กน้อย หรือเป็นหวัดก็อาจซื้อมากินแล้ว ที่จริงไข้หวัดมักเกิดจากเชื้อไวรัส การใช้ยามักไม่ได้ผล นอกจากเสียเงินยังอาจทำให้ดื้อยา จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ผู้หญิงทั้งที่ท้องหรือไม่ท้อง ถ้าใช้ยานี้บ่อยจะทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา โดยมีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากอีกด้วย ยาแก้ไอ Bromhexine : ยังมีข้อมูลจำกัด ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในไตรมาสแรก Diazepam : ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ ไตรมาส 2 ระบบเลือดและหัวใจอาจผิดปกติ ถ้าใช้ต่อเนื่องนาน ใช้ขนาดสูงช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น ท้องเสีย Actifed : ควรงดใช้ไตรมาสแรก มีรายงานว่ายาแก้แพ้อากาศนี้ อาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้ ยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีน : ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง รู้ทันยา : อาการไออาจมีสาเหตุจากการกินยาบางอย่างหรือเป็นอาการเรื้อรังของโรคทางเดิน หายใจ ยาจิบแก้ไอ หรือระงับอาการไอที่ดีที่สุด คือ น้ำอุ่น การใช้ยาอม เช่น ยาอมมะแว้ง สามารถลดอาการไอได้ แต่สตรีมีครรภ์หรือเด็กเล็กก็ไม่ควรใช้ยานี้จิบแก้ไอ ยาฆ่าเชื้อรา Ketoconazole : ใช้ได้ถ้าจำเป็น โดยเฉพาะแม่ที่ติดเชื้อเอช ไอ วี เพื่อป้องกัน รักษาการติดเชื้อราในช่องคลอด Itraconazole : ควรงดใช้ เพราะอาจมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้น Griseofulvin : งดใช้ ถ้าใช้ในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าไตรมาส 2-3 เช่น หัวใจผิดปกติ ถ้าเป็นแฝดอาจแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าใช้ภายใน 20 วันแรกหลังไข่ตก ยาลดกรด Allopurinol : ใช้ได้ถ้าไม่มีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่า หรือโรคที่เป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตแม่และลูกในครรภ์ Antacid : ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน Magnesium hydroxide : ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน Omeprzole : งดใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ครึ่งแรก เพราะเคยพบว่าเสี่ยงต่อทารก รู้ทันยา : ยาลดกรดที่มีส่วนผสมแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง ยาขยายหลอดเลือด Cinnarizine : งดใช้ถ้าไม่จำเป็น ไม่ใช้ยาต้านฮิสตามีนนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้ Salbutamol : อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แม่มีความดันโลหิตต่ำรุนแรง เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทั้งแม่และลูกในครรภ์ ลูกอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เฝ้าระวังใกล้ชิด Theophylline ยาขยายหลอดลม : การใช้ในไตรมาสสุดท้ายระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ยารักษาเบาหวาน Glibenclamide และ Glipizide : ทารกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถ้าแม่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่คงที่ ควรงดใช้ชนิดกินหันไปใช้ Insulin แทนจนกว่าจะคลอด Metformin : ไม่พบว่ายาทำให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากยาอาจให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในแม่ได้ไม่ดีนัก ไม่ควรใช้ ใช้ Insulin จะปลอดภัยกว่า รู้ทันยา : ยารักษาเบาหวานถ้าเป็นชนิดฉีดอินซูลินใช้ ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดกินอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และเคยมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้ ยารักษาอาการชัก Phenobarbital : ถ้าใช้ในไตรมาส 1 และ 3 อาจทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เลือดไหลไม่หยุด หากจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุดเพื่อควบคุมการชักของแม่ Phenytoin : ควรงดใช้เพราะยาอาจทำให้กะโหลกศีรษะใบหน้าทารกผิดปกติ นิ้ว เล็บมือไม่สมบูรณ์ ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจผิดปกติ แต่ถาขาดยาแล้วชัก แม่ลูกอาจเป็นอันตรายก็ได้ ใช้ได้แต่ต้องระวังให้ดี Carbamazepine : งดใช้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะไตรมาสแรก ควรให้โฟเลทเสริม หากใช้ในไตรมาสสุดท้าย ควรให้วิตามินเค หรือติดตามภาวะเลือดออกในทารกด้วย รู้ทันยา : ส่วนใหญ่ยากันชักมักทำให้ทารกเกิดความพิการ มีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า ยารักษาโรคผิวหนัง Dapsone : ต้อง ระวังการใช้ยานี้รักษาโรคเรื้อน โรคทางผิวหนัง มาลาเรีย และนิวโมเนียจากการติดเชื้อ เพราะอาจทำให้ระบบเลือดผิดปกติ ต้องติดตามใกล้ชิดระหว่างใช้ยา Clofazimine : อาจมีผลให้ทารกและน้ำคร่ำมีสีเขียว ซึ่งก็หายเป็นปกติได้ แต่อาจใช้เวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใช้ยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แต่ก็ไม่ควรใช้ในไตรมาสแรก ยาเบ็ดเตล็ด Chlorpheniramine ยาแก้แพ้ : เด็กที่เกิดมาผิดปกติ เช่น มีนิ้วเกิน หูและตาผิดปกติพบว่าแม่เคยใช้ในไตรมาสแรก ถ้าใช้ชั่วคราวไม่ส่งผลมากนัก ถ้าใช้ติดต่อกันนานทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจมีเลือดไหลผิดปกติ Ergotamine + Caffeine : ทำให้มดลูกหดตัว แท้ง คลอดก่อนกำหนด ถ้าใช้บ่อยขนาดสูง จะขัดขวางการไหลเวียนเลือดสู่ทารก งดใช้ยาแก้ปวดศีษระกลุ่มที่มีเออโกตามีนเพราะทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนดได้ Digoxin ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว : ควรระวังขนาดที่ใช้ หากใช้เกินขนาดจะทำให้ทารกที่เกิดมาเสียชีวิตได้ Dimenhydrinate ยาแก้คลื่นไส้ วิงเวียน เมารถ : ใช้ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงแบบฉีด เพราะยาทำให้มดลูกบีบตัวมาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนคลอดด้วย Doxycycline ยารักษาสิว : หลีกเลี่ยงโดยเฉพาะตั้งครรภ์ครึ่งหลัง ซึ่งมีการสร้างกระดูกและฟันของตัวอ่อน ควรติดตามดูผลการทำงานของตับในแม่ที่จำเป็นต้องได้รับยาด้วย Gemfibrozil ยาลดไขมันในเลือด : ทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะไตรมาสแรก Lorazepam ยานอนหลับ : ยาผ่านรกทำให้ทารกผิดปกติแต่กำเนิดได้ ถ้าใช้ตามแพทย์สั่งไม่เป็นไร แต่ไม่ควรซื้อใช้เอง ถ้าใช้สูงจนติด ลูกที่เกิดจะหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้าคล้ายคนิดยา ชักกระตุก ทำให้ลูกมีเลือดออกผิดปกติ Misoprostol ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ : อาจทำให้แท้ง หากไม่แท้งก็ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด Pyridostigmine bromide (Mestinon) ยารักษาโรคกล้ามเนื้อ : ยาผ่านรกไม่ได้ หรือผ่านได้น้อยมาก ไม่พบว่าทำให้ทารกผิดปกติ จึงให้ใช้ได้ แต่ระวังการใช้รูปแบบฉีดระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด Bisacodyl ยาระบาย : ควรเลือกใช้สารที่ออกฤทธิ์ให้อุจจาระเป็นก้อนนิ่ม (เช่น เมล็ดแมงลัก) หรือยาที่มีฤทธิ์เพิ่มแรงตึงผิว (เช่น ยาระบายแมกนีเซีย) ก่อน จะปลอดภัยกว่า Proctosedyl ยาเหน็บริดสีดวง : ใช้ได้แต่ก็ไม่ควรมาก และไม่ใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน

อ่านก่อนใช้ยา

วิจัยเผย คนไทยใช้ยาพร่ำเพรื่อ ผิดประเภท บริษัทยาตัวการหลัก ส่งผลเกิดภาวะดื้อยา-อาการข้างเคียง นักวิชาการชี้พึ่งตนเองไม่ใช่แค่ซื้อยากินเอง

ความเสี่ยงของคนยุคใหม่ในการพึ่งตัวเองเกี่ยวกับสุขภาพกลายเป็นดาบสองคม ที่ข้อมูลการศึกษาจากฝ่ายแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำเสนอในงานประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาระบบยาประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคมที่ผ่านมา มีหลายประเด็นปัญหา รวมถึงการส่งเสริมการขายยา ซึ่งมีกรณีศึกษาบทบาทบริษัทยาในการให้ข้อมูลโรคและยากับประชาชนว่า บริษัทมีบทบาทสูงและทำอย่างซับซ้อน ส่งผลต่อการบริโภคยาอย่างไม่เหมาะสม

ลองมาดูสถานการณ์การใช้ยาอย่างคร่าวๆ ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา

เดือนมีนาคม ปี 2551 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้เปิดเผยผลการศึกษาที่ชี้ว่า คนไทยใช้ยาเกินความจำเป็น และส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา โดยเฉพาะ ยาปฏิชีวะ (ยาฆ่าเชื้อ) ที่ใช้ในสัดส่วนสูงสุดในปริมาณการใช้ยาทั้งหมดของประเทศไทย และยังมีการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ นั่นคือใช้ยารักษาผิดอาการ ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง

ยกตัวอย่าง ยาเพนิซิลิน ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่กลับถูกใช้ในการรักษาคอเจ็บ เป็นตุ่ม ซึ่งไม่ถูกต้อง และการใช้ที่ออกฤทธิ์กว้างๆ สำหรับโรคที่จำเป็นต้องใช้ยาออกฤทธิ์จำเพาะ จึงทำให้ยาสั่งสมในร่างกายมากเกินไป ยังผลให้เกิดการดื้อยา

ในสถานการณ์นี้ ทางคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย. ได้เปิดโครงการนำร่องเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล Antibiotics Smart Use เริ่มจากพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ปี 2550 และมีแผนจะขยายไปทั่วประเทศ (อ้างอิงจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ.หน้า 11 ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2551)

การใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทย ตามข้อมูลของบริษัท ไอเอ็มเอส เฮลท์ ผู้ทำข้อมูลตลาดยาทั่วโลก เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคมปี 2552 ยังเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของยาทุกประเภท

เดือนมีนาคม ปี 2552 สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ได้เสนอให้มีถอดยาแก้ปวดหัวและยาโรคพื้นฐาน เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาแก้ไอ ออกจากบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยให้เหตุผลว่า การเจ็บป่วยเล็กน้อย ประชาชนควรจะมีสิทธิเลือกซื้อยาตามกำลังจ่าย และไม่จำเป็นต้องพึ่งบริการหมอตลอดเวลา และ เพื่อลดการใช้ยาฟุ่มเฟือย และถือเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แพทย์โดยไม่จำ เป็น อีกทั้งทำให้ประชาชนมีสิทธิเลือกยา โดยสามารถนำใบสั่งยาจากแพทย์ไปซื้อได้ตามร้านขายยาที่มีคุณภาพ แม้ว่ายาจะแพงขึ้น แต่ก็เป็นยาที่ประชาชนมั่นใจในคุณภาพและพร้อมที่จะร่วมจ่าย (ข้อมูลจากเว็บไซต์ มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค www.consumerthai.org)

ซื้อยาเอง พึ่งตัวเองหรือโดนหลอก

การซื้อยากินเองของคนไทย (จากรายงานการสังเคราะหองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพและข้อเสนอสาระ บัญญัติในราง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติเรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง/ครอบครัว/ชุมชน โดยแหล่งข้อมูลงานวิจัย ทางเว็บไซต์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) พบว่าคนไทยที่มีฐานะยากจนจะซื้อยากินเองมากกว่าคนมีฐานะดี และยาที่ซื้อกินเองมากที่สุด คือ อาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ไข้หวัด ไอ ปวดท้อง กระเพาะอาหาร และอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ชนิดของยาที่พบว่าชาวบ้านนิยมซื้อ คือ กลุ่มยาแกปวดลดไข กลุ่มยาโรคทางเดินอาหาร และยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

"การพึ่งตนเอง หมายถึงการให้ไปซื้อยากินเองเท่านั้นหรือเปล่า คงไม่ใช่ โดยเฉพาะข้อควรระวังว่า ประเด็นนี้ จะเป็นช่องว่างให้บริษัทขายยาเข้ามาแทรกหาประโยชน์ได้" ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็น

"มันน่าสนใจว่า ปัญหาสำคัญของผู้บริโภคคือเขาจะได้ข้อมูล ที่ไม่ใช่การโฆษณาจากทางไหนๆ ซึ่งทาง อ.ย.ก็มีการจัดทำข้อมูลยาสู่ผู้บริโภค ซึ่งอันนี้ทางสหรัฐฯ เขาได้ทำแล้ว มันเป็นการส่งสารด้านสุขภาพให้คนได้รู้จักรู้จริง"

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา ชี้ว่า การดูแลตัวเองกับการใช้ยา ในวันนี้อาจจะโทษแค่ระบบล้มเหลวอย่างเดียวไม่ได้ การพึ่งตัวเองของผู้บริโภคต้องเรียนรู้มากขึ้นว่าการดูแล โดยทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยานั้น ก็จำเป็นอย่างมากเช่นกัน

ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาผิดประเภท และพร่ำเพรื่อที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง จากงานวิจัยที่พบในปัจจุบันยังคงเกี่ยวเนื่องกับ ความเชื่อ วัฒนธรรมเฉพาะถิ่น ปัจจัยเรื่องความไม่รู้ในการใช้ยา และการกระตุ้นจากแหล่งข้อมูลที่บอกความจริงครึ่งเดียว (โฆษณา) โดยร้านยายอมรับว่า การโฆษณามีผลกระตุ้นให้คนซื้อยาอย่างเห็นได้ชัด

"มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค อย่างชาวบ้านปวดหลัง (จากการทำงาน) ฝืนกล้ามเนื้ออยู่เป็นเวลานาน จากการดำนา แต่เขาจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นโรคไต เพราะโรคไตก็ปวดหลัง 90 เปอร์เซ็นต์ของคนปวดหลังมาซื้อยาโรคไต บางทีเภสัชกรก็ต้องใช้วิธีประนีประนอม ให้ยาไตไปด้วยให้ยาคลายกล้ามเนื้อไปด้วย ซึ่งคิดว่ายาไตเป็นผลมาจากแรงโฆษณา แม้ปัจจุบันแต่จะมีกฎหมายควบคุมเนื้อหาโฆษณายา ไม่ให้อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ก็ยังมีการฝ่าฝืน

ที่สำคัญ คือ ยังมีการใช้ยาเกินจำเป็น คือ ใช้ยาผิด และ คิดว่าเป็นว่าโรคตัวเอง เช่น ดูโฆษณายาบรรเทาอาการข้อเสื่อม (โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็น) ก็มาหาซื้อยานี้โดยไม่จำเป็น" เอกไชย พรรณเชษฐ์ บัณฑิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของร้านขายยา อรุณเภสัช อ.โพทะเล จ.พิจิตร เปิดเผย

เอกไชยยังเปรียบเทียบสถานการณ์ของร้านยาของเขาในปัจจุบันกับอดีต ในกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นชาวบ้านไว้ว่า

"ชาวบ้านยังมีความรู้ไม่ค่อยมาก จริงๆ ไม่ว่าจะสมัยก่อนหรือตอนนี้ คือ เดินเข้ามาให้รักษาอาการที่ตัวเองเป็น ให้ทางร้านจัดยา วินิจฉัยโรคให้ แต่ปัจจุบัน การดูแลตัวเองขั้นพื้นฐาน ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลโฆษณา ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะยาแก้ปวดหลัง ปวดข้อ แต่ความรู้เกี่ยวกับโรคพื้นฐานยังจำกัด ส่วนคนมีการศึกษา ก็เข้ามาขอคำปรึกษาและให้ร้านจัดยาให้ แต่มีความรู้เรื่องข้อควรระวังและการใช้ยาดีกว่า เช่น ใส่ใจถามผลข้างเคียง และยอมรับการใช้ยาให้ครบขนาด เพราะได้ความรู้ว่าถ้ากินไม่ครบ เชื้ออาจดื้อยา แต่ในแง่ความรู้พื้นฐาน เรื่องโรค ไม่ได้มีมากกว่าชาวบ้าน"

คำแนะนำของฝ่ายทำงานเฝ้าระวังเรื่องยา อย่าง ผศ.ภญ.ดร.นิยดา กล่าวว่า

"สำหรับผู้บริโภค เขาก็ไม่รู้ว่า message ข้อมูลยาเหล่านี้ปลอดภัยแค่ไหน จะต้องผ่านการ approved จากใคร ก็คงบอกได้แค่ว่า ต้องใช้หลักกาลามสูตรล่ะ ง่ายๆ คือ ข่าวสารอะไรที่มาจากภาคธุรกิจ เราควรจะเชื่อแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะยา เบื้องต้นก็คงต้องบอกซ้ำว่า กินยาทุกตัวต้องรู้ชื่อตัวยา ชื่อสามัญของยา ต้องรู้ผลข้างเคียง รู้ขนาดยา ว่าเรากินไปเท่าไร รู้ว่าโฆษณาถ้ามันขัดแย้งกับผลการใช้จริง เราจะไปร้องเรียนที่ไหนได้บ้าง"

โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา ย้ำว่า พฤติกรรมไม่ใช่เรื่องแก้ง่ายๆ จำเป็นต้องใช้ทั้งการให้การศึกษา (ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ) บวกกับการควบคุมบังคับใช้กฎหมายควบคู่กันไป รวมถึงการเชื่อมโยงการศึกษา เชิงสังคมวัฒนธรรม และนโยบายการบริการด้านสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพหรือ Health Promotion ในการดูแลตัวเองเบื้องต้น

ย้ำ..."ในการดูแลตัวเองเบื้องต้น" ซึ่ง ผศ.ภญ.ดร.นิยดาบอกว่า

"น่าจะเป็นสิ่งที่ลงมือทำแล้วให้มันเห็นผลได้..มากที่สุด"

ด้วยรักและห่วงใยจาก 'ร้านขายยา'

ร้านขายยามีข้อสังเกตและคำแนะนำในการใช้ยาระดับสามัญประจำบ้าน ที่ได้รับอนุญาตให้มีการซื้อขายทั่วไป ไว้หลายประเด็น

ประสบการณ์จากร้านยา หมวยเภสัช ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ ให้ข้อคิด โดยเฉพาะเรื่องความเข้าใจผิด ในการใช้ยาผิดสรรพคุณ และเกินขนาด โดยผู้บริโภคหลายคนยังเพิกเฉยและใช้ยาตามอำเภอใจ ซึ่งในความเห็นของเภสัชกร ถือว่า เป็นการใช้ยาเพื่อสนองตอบความพอใจ มากกว่าการใช้ยาเพื่อเยียวยาสภาพร่างกายตามความจำเป็น

-แพ้ยาใดโปรดระบุ

"เราจะถามประวัติการแพ้ยา และโรคประจำตัว ต้องดูว่าคนซื้อจำเป็นต้องใช้ยาเท่าไหร่ บางคนไม่จำเป็นต้องใช้เยอะ เราจะต้องถามคนซื้อเยอะๆ ให้ได้รายละเอียด ซึ่งคนรุ่นใหม่จะไม่มีปัญหา แต่คนแก่ๆ ก็อาจจะยังติดอยู่กับความคุ้นเคยเดิมๆ ซึ่ง จริงๆ การที่คนไปซื้อยา รู้จักชื่อตัวยาชัดเจน(ไม่ใช่ยี่ห้อยา) ก็จะดี เพราะถ้าเกิดแพ้ยาขึ้นมาจะรู้ได้ว่าตัวเองแพ้ยาอะไร ส่วนใหญ่ลูกค้าร้านเภสัชจะเป็นคนที่มีลูก เพราะเภสัชกรจะช่วยแนะนำ ให้คนซื้อรู้ว่า dose (ขนาด)ในการใช้ยากับแต่ละคนควรจะแค่ไหน และจะระวังมาก ไม่จ่ายยาซี้ซั้ว" เจ้าของร้านยา หมวยเภสัช เผยพฤติกรรมลูกค้า

- หน้าที่ของเภสัชกร แค่ขายยาไม่พอ

ในร้านขายยา นอกจากการสอบถามราคาและยี่ห้อยาแล้ว การเจรจายืดเยื้อถึงสรรพคุณและวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งจากฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งเภสัชกรรายนี้เล่าประสบการณ์จากลูกค้าที่เจอบ่อยๆ ว่า

"พวกเป็นหวัดธรรมดา ปวดฟัน ผื่นคัน เชื้อราบนหนังศีรษะ หรือท้องเสีย จะใช้ยาพื้นๆ ได้ แต่ถ้าลูกค้าที่เป็นเรื้อรังมานาน เช่น ไอมานานจนหอบ เราจะแนะนำให้ไปหาหมอ ต้องเจอหมอ หรือไข้สูงติดต่อกันยี่สิบสี่ชั่วโมง ช่วงนี้ก็ต้องระวังมากหน่อย เขาต้องไปตรวจกับหมอ บางทีก็ต้องแนะนำลูกค้าด้วยว่า เมื่อไรที่เขาควรไปหาหมอ เช่น โดนไม้ทิ่มเป็นแผลมา เขาจะแค่ซื้อยาทาแผลไปใช้เอง ไม่พอหรอก ต้องบอกให้เขาไปหาหมอฉีดยาป้องกันบาดทะยักด้วย หรือโดนหมากัด แมวกัด แค่ยาทาแผลไม่พอ ต้องไปฉีดวัคซีนด้วย เพราะอาจจะถึงแก่ชีวิตได้"

-ผู้ซื้อพึงระวัง

"คนสูงอายุมากๆ 70-80 ปี บางทีเภสัชกรตามร้านขายยาจะไม่ค่อยรับ (ไม่ขายยาให้) เพราะการใช้ยากับคนวัยนี้ต้องระมัดระวังมาก คนวัยนี้จะมีความไวต่อยามาก ยาแค่ 1 เม็ดก็อันตรายได้ ต้องคำนวณยาให้ตรงกับสภาพร่างกายเขาจริงๆ เช่นเดียวกับกรณีเด็กอ่อน ต่ำกว่า 6 เดือน ร้านยาปกติจะไม่จ่ายให้ เพราะต้องระวังมาก จ่ายได้แค่ยาลดไข้เท่านั้น และประวัติการแพ้ยาของเด็กเล็กยังไม่มี การจ่ายยาให้เหมาะสมก็ลำบาก

-ความรู้เรื่องยา

อยากให้คนรู้จักยาสามัญประจำบ้านก่อน เพราะเวลาเกิดเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ตอนกลางคืน จะสามารถบรรเทาได้ เช่น ยาธาตุ ยาทาแก้ปวด หรือยาลดกรด และการปฐมพยาบาลพื้นฐาน ตัวอย่างที่เคยเจอ บางคนโดนมีดบาด ไม่รู้ว่าต้องอุดแผลห้ามเลือดก่อน แต่ปล่อยหรือบีบให้เลือดออกจากแผล และห้ามโดนน้ำ เพราะมันจะติดเชื้อง่าย แต่ก็พบลูกค้าที่ไม่รู้บ่อยมาก

คิดว่าสาธารณสุขน่าจะให้ความรู้พื้นฐานตรงนี้มากๆ บอกซ้ำๆ บ่อยๆ ให้เป็นความเคยชินไปเลย

ส่วนยาป้องกันไวรัสหรือพวกยาที่ใช้กับโรคไข้หวัดที่กำลังกลัวกัน มีคนมาถามที่ร้านขายยา แต่ยาเหล่านี้เป็นยาควบคุมอยู่แล้ว ต้องไปหาหมอก่อน และจ่ายยาเฉพาะที่โรงพยาบาลเท่านั้น

อย่าดื้อ (ดึง) ซื้อยา

เภสัชกรจากร้าน หมวยเภสัช แนะนำเรื่องการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม และมีความเสี่ยงที่จะเป็นภัยต่อผู้ใช้ยาเองหรือไม่นั้น โปรดพิจารณาข้อเสนอแนะดังนี้

-ยาพาราเซตามอล

คำเตือน : สรรพคุณเป็นยาแก้ปวดจากอาการไข้ แต่ไม่ใช่ยา "ป้องกันหวัด" และไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 5 วัน อาจจะส่งผลข้างเคียงไม่ดีต่อตับ

แต่มีกรณีจากร้านยาเล่าว่า "บางคนมาซื้อยาพาราฯ (ยี่ห้อใดก็ได้) เพื่อกินกันหวัด และบอกว่าใช้แก้ปวดเมื่อย อันนี้เราจะพยายามบอกเขาว่าไม่ใช่นะ มันไม่ได้มีผลป้องกันหวัด และไม่ได้มีผลแก้เมื่อย บอกจนเขาไม่มาซื้อเราอีก แต่เขาก็ไปหาซื้อตามร้านสะดวกซื้อเองอยู่ดี"

-ยาแก้ปวด กรณีปวดฟัน

คำเตือน : ปวดฟันควรไปพบหมอฟัน เพราะยาแก้ปวดจะช่วยบรรเทาอาการปวดชั่วคราว ไม่หายขาด

"บางคนปวดฟัน คิดว่าแค่ใช้ยาแก้ปวดก็หาย จริงๆ ไม่ใช่ มันจะต้องไปซ่อมฟัน และคนที่ซ่อมได้คือหมอฟัน ไม่ใช่ทายากินยาแล้วจบ"

-ยาแก้แพ้ -ลดน้ำมูก

คำเตือน : ไม่ควรรับประทานในช่วงเวลาทำงานกับเครื่องจักรหรือขับรถ เพราะยามีฤทธิ์ง่วง

กรณีที่เจอ "ที่ร้านจะแนะนำให้ลูกค้าทานยาประเภทนี้ในเวลาก่อนนอน หรือกลางวันที่ไม่มีกิจกรรมเสี่ยงภัย เพราะฤทธิ์ยาจะทำให้ง่วงหรือหลับในได้ทันที แต่ก็มีคนซื้อยาที่รวมสรรพคุณแก้แพ้ลดไข้ ไปกินแทนยานอนหลับ ซึ่งเป็นการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์ อันตรายมาก"

-ยาระบาย

คำเตือน : ใช้เฉพาะจำเป็น ไม่ควรใช้ให้เป็นชีวิตประจำวัน

"คนที่ใช้ยาระบายเจอหลายคนที่มุ่งใช้เพื่อหวังจะลดน้ำหนัก โดยไม่รู้ตัวว่า ยาระบายจะทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ เมื่อมันชินกับการใช้ยาแล้ว ต่อไปลำไส้จะไม่ยอมระบายต้องใช้ยาเท่านั้น ความจริงต้องกินอาหารมีกากใยจะช่วยระบายตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่บางคนที่ใช้ยาระบายจะไม่สนใจตรงนี้ ตะบี้ตะบันกินอย่างเดียว หลายอย่างอยู่ใกล้ตัวมาก เช่น ชาสมุนไพร ตามร้านสะดวกซื้อซึ่งไม่ควรใช้เป็นประจำ"

-ไข้หวัดไม่ต้องกินยา

คำเตือน : ไข้หวัดธรรมดาไม่มีอาการที่เข้าข่ายควรสงสัย แค่พักผ่อนก็หายได้

"แต่คนไข้มักไม่เชื่อ ไปหาหมอคนที่หนึ่ง ให้ยามาทาน 3 วัน อาการไม่ดี เปลี่ยนไปหาหมอคนที่สอง อาการดีขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่หาย พอไปหาหมอคนที่สาม หาย ก็เชื่อว่าหมอคนนี้เก่ง ทั้งๆ ที่หายเองตามธรรมชาติ โดยสรุป คนซื้อยา ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นว่าตัวเองจะดูแลตัวเองได้ในระดับพื้นฐาน" ข้อมูลนี้จากเอกไชย

พิจารณาจากตัวอย่างเหล่านี้ คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่า ถ้าใช่ เภสัชกรจากร้านยา ฝากบอกว่า "โปรดปรับปรุงตัวด่วน"
นสพ.กรุงเทพธุรกิจ โดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ