Thursday 16 July 2009

เตือนภัยมดคันไฟพันธ์ใหม่



เตือน
'อิวิคต้า'มดคันไฟมหาภัยกัดต่อยถึงตาย

นัก วิชาการเตือนภัยคุกคามของมด คันไฟตัวใหม่พันธุ์ "อิวิคต้า" จากอเมริกาใต้ กำลังแพร่ระบาดเข้าสู่เอเชีย มีพิษร้ายกัดถึงตาย คาดว่าจะเข้าไทยในไม่ช้านี้ ชี้สาเหตุเกิดจากภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของมด

รศ. ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ของแมลงและมดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้มีมดคันไฟตัวใหม่สายพันธุ์อิวิคต้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ กำลังแพร่ระบาดไปเกือบทั่วโลก และเริ่มเข้ามาในเอเชียแล้ว โดยพบได้ในประเทศไต้หวันและฮ่องกง คาดว่าจะเข้ามาสู่ประเทศไทยในไม่ช้านี้ ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังการคุกคามของมดคันไฟอิวิคต้า เพราะมีพิษร้ายแรง เมื่อกัดต่อยคนแล้วจะทำให้ผิวหนังอักเสบ คนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงก็อาจหมดสติและเสียชีวิตได้

"มดคันไฟชนิด นี้สามารถปรับตัวและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ประเทศที่มีการระบาดอย่างหนัก เช่น สหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยขึ้นเพื่อยับยั้งการขยายพันธุ์ บรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่โดนต่อย และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการกัดกินพืชผักต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่มดคันไฟตัวใหม่จะเข้ามาในประเทศไทย ด้วยการติดมากับเรือสินค้าหรือการขนส่งทางอื่นๆ" รศ.ดร.เดชากล่าวเตือน

นัก วิชาการ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับความร้ายแรงของมดคันไฟอิวิคต้า คือเหล็กในมีพิษสะสมทำให้เกิดอาการไหม้และคันอย่างรุนแรง พิษจะออกฤทธิ์อยู่นานเป็นชั่วโมง และเป็นเม็ดตุ่มพองซึ่งกลายเป็นหนองสีขาว ทำให้เนื้อเยื่อตายและเป็นอันตรายต่อชีวิต สำหรับรูปร่างหน้าตาภายนอกของมดคันไฟชนิดนี้ แทบจะไม่มีความแตกต่างจากมดคันไฟที่พบเห็นในไทย แต่จะมีผิวลำตัวเรียบและสดใสกว่า ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีฟันตรงกลางริมฝีปากบน และมองด้วยตาเปล่าไม่ค่อยเห็นต้องอาศัยแว่นขยาย

ส่วนการสร้างถิ่น อาศัยจะเป็นแบบรังหรือจอมโดยใช้มูลดิน ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ความสูงประมาณ 4-24 นิ้ว และมีจำนวนประชากรมากถึง 500,000 ตัวต่อรัง ชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำไหลเวียน พื้นที่การเกษตร แม่น้ำลำคลองและชายทะเล ขณะที่มดคันไฟธรรมดาในไทยจะสร้างรังเรียบๆ กับพื้น ไม่มีจอม และมีจำนวนเพียง 10,000 ตัวต่อรัง

รศ.ดร.เดชาระบุว่า ในสหรัฐอเมริกา มดชนิดนี้สร้างความเสียหายทางการเกษตรในวงกว้าง ด้วยการทำลายระบบรากของพืชต่างๆ ในพื้นที่แพร่ระบาดอย่างหนัก มดจะเข้าทำลายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และแมลงที่สร้างรังใต้ดิน ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรเป็นมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี ดังนั้น หากพบให้รีบทำลายรังหรือส่งตัวอย่างมาให้นักวิชาการตรวจสอบเพื่อควบคุมการ แพร่ขยายพันธุ์ โดยสามารถส่งตัวอย่างมดที่สงสัยได้ที่พิพิธภัณฑ์มด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2579-0176 ต่อ 510.

No comments:

Post a Comment